10 ธ.ค. 2563

Bitcoin, Ethereum และ Ripple XRP

บิตคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร ?


บิตคอยน์ (Bitcoin) คือ สกุลเงินสมมติที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่ขึ้นกับสกุลเงินใด ๆ ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญทั่วไป โดยบิตคอยน์มีหน่วยเงินตราเป็น BTC เหมือน ๆ กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ใช้หน่วยเงินตราเป็น USD สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นที่ใช้ JPY หรือสกุลเงินบาทไทยที่ใช้เป็น THB นั่นเอง ซึ่งบิตคอยน์ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2552 และเริ่มถูกนำไปใช้แลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้ากันจริง ๆ ในโลกออนไลน์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทั้งนี้ บิตคอยน์ถือว่าเป็นเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Cryptocurrency) สกุลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีสกลุเงินอื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกคิดค้นขึ้นมา อาทิ สกุลเงิน Ethereum ที่ใช้ตัวย่อว่า ETH, สกุลเงิน Ripple ที่ใช้ตัวย่อว่า XRP และสกุลเงิน Litecoin ที่ใช้ตัวย่อว่า LTC แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบิตคอยน์ยังคงเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุด

บิตคอยน์ (Bitcoin) เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
บิตคอยน์เกิดจากแนวคิดที่ว่ามีคนต้องการระบบเงินใหม่ที่ไม่ถูกตรวจสอบขึ้นมา จากเดิมที่มีระบบธนาคารกลางเป็นผู้ดูแล และมีหน้าที่กำหนดมาตรฐาน รวมถึงมูลค่าของเงิน ทำให้ธุรกรรมทางการเงินทุกอย่างที่เกิดขึ้นอยู่ในสายตาของธนาคารกลางนั่นเอง แต่กระบวนการเหล่านี้อาจจะไม่ค่อยถูกใจบรรดาธุรกิจใต้ดิน เพราะต้องระบุตัวตน เวลาโอนเงินก็ต้องผ่านตัวกลาง ทำให้ถูกตรวจสอบได้ง่าย

ดังนั้น จึงมีหลาย ๆ คนพยามจะสร้างสกุลเงินใหม่ที่ไม่ผ่านระบบธนาคารกลาง และเป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีโปรแกรมเมอร์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ
นากาโมโต้ ได้สร้างระบบที่เรียกว่า "Blockchain" ออกมา ซึ่งเป็นระบบเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเงินเฟ้อและเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็วของสกุลเงินดิจิทัล จากการปั๊มเงินออกมาเรื่อย ๆ
ได้ตามใจชอบ โดยนำระบบการทำงานของอัลกอริทึมมาใช้ แล้วกำหนดปริมาณเงินในระบบไว้ไม่ให้เกิน 21 ล้านหน่วย ทำให้บิตคอยน์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีระบบป้องกันเงินเฟ้อนั่นเอง

เราสามารถหาบิตคอยน์ (Bitcoin) ได้อย่างไร

การลงทุนในบิตคอยน์นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

1. การขุด (Mining)

บิตคอยน์ถูกดูแลภายใต้ระบบ Blockchain ที่ทำงานโดยอัลกอริทึม "การขุดคอยน์" อธิบายง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับการที่เราเข้าไปขุดทองในเหมือง แต่แค่เปลี่ยนรูปแบบมาทำในระบบคอมพิวเตอร์แทน โดยจะต้องนำคอมพิวเตอร์ของเราไปเป็นเซิร์ฟเวอร์ให้ระบบบิตคอยน์ใช้ในการเก็บธุรกรรมต่าง ๆ  จึงจะได้รับค่าตอบแทนคือเงินบิตคอยน์ แต่การจะได้ค่าตอบแทนนั้นจะต้องแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ให้ได้ ซึ่งต้องแข่งกับคนอื่น ถ้าทำสำเร็จเราก็จะเป็นเจ้าของบิตคอยน์ที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการขุดนั่นเอง
สำหรับความยากง่ายของการขุด ขึ้นอยู่กับจำนวนบิตคอยน์ที่เหลืออยู่ในระบบที่ถูกกำหนดสูงสุดไว้ที่ 21 ล้านหน่วย เพราะฉะนั้นยิ่งจำนวนบิตคอยน์เหลือน้อย การแก้สมการก็ยิ่งยากมากขึ้น รวมถึงความแรงของการประมวลผลคอมพิวเตอร์เราด้วยที่ต้องมากขึ้นตามความยากของการขุด ทำให้เราเห็นข่าวเรื่องที่คนหันมาซื้อการ์ดจอแรง ๆ เพื่อมาแข่งกันขุดบิตคอยน์นั่นเอง คอมพิวเตอร์ของใครแรงกว่าก็จะมีโอกาสแก้สมการได้เร็วกว่า ส่วนจำนวนเงินที่ได้จากการขุดถูกกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งช่วงแรกจะได้ครั้งละ 50 BTC โดยจำนวนเงินที่ได้จะค่อย ๆ ลดลงทุก 4 ปี ทำให้ตอนนี้เหลือแค่ครั้งละ 25 BTC เท่านั้น


ขณะที่ปัจจุบันจำนวนบิตคอยน์ที่เหลืออยู่ในระบบมีไม่ถึง 5 ล้าน BTC แล้ว แต่จำนวนคนที่เข้ามาขุดกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น โอกาสรวยจากการขุดหาบิตคอยน์จึงยากมากขึ้น เนื่องจากต้องลงทุนซื้อการ์ดจอราคาแพง 

2. เทรดด้วยสกุลเงินอื่น

หากใครที่ไม่มีคอมพิวเตอร์แรง ๆ ไปขุดบิตคอยน์ เราสามารถนำเงินสกุลอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับไปแลกเพื่อเก็งกำไรมูลค่าของบิตคอยน์ได้จากนักขุด โดยมีร้านรับแลกแบบออนไลน์เกิดขึ้นมากมายที่ทำหน้าที่เสมือนธนาคาร ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นกับกลไกการตลาดกำหนด คือ ช่วงเวลาไหนที่ได้รับความนิยมสูง มูลค่าของบิตคอยน์ก็จะสูงขึ้นตาม

 

Ethereum(ETH) คืออะไร?


เครือข่าย Ethereum ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสัญญาอัจฉริยะ(Smart Contract)และแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ

Ether ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม Ethereum เมื่อมีคนพูดถึงการซื้อขายการลงทุนหรือการจ่ายเงินด้วย Ethereum จะหมายถึงสกุลเงิน Ether


Ethereum ได้รับการยกย่องให้เป็นสกุลเงินดิจิตอลอันดับสองรองจากบิทคอยน์ Ethereum มีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากบิทคอยน์ และมีปริมาณการซื้อขายสูงสุดเป็นอันดับสองในบรรดาสกุลเงินดิจิทัลซึ่งตามหลัง Bitcoin ด้วยเหตุนี้ ETH จึงถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ดึงดุดใจสำหรับนักลงทุนที่สนใจใน crypto

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง BTC และ ETH 

คือวัตถุประสงค์นั่นเอง แม้ทั้งคู่เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน แต่ Bitcoin เป็นเพียงเงินสดดิจิทัลชนิดหนึ่งที่แลกเปลี่ยนระหว่างผู้คน กล่าวคือ


การแลกเปลี่ยน Bitcoin จะเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยตนเอง เช่น บุคคล A ส่ง 10 BTC ไปยังบุคคล B แต่ Ether มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอัจฉริยะ(Smart Contract)


สัญญาอัจฉริยะ(Smart Contract)คือโปรแกรมที่ ETH จะถูกโอนโดยอัตโนมัติหากตรงตามเงื่อนไขบางประการ เช่น มีการส่งงานเอกสารที่ลงนามในวันหนึ่งเป็นต้น ทำให้ Ethereum สามารถจัดการข้อตกลงทางการเงินที่ซับซ้อนกว่าได้ ดังนั้น การลงทุนใน Ethereum จะถือว่าเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีบล็อกเชน


ความสำเร็จของเครือข่าย Ethereum ได้พิสูจน์แล้วว่า ETH จะไม่หายไปไหนและเมื่อเทคโนโลยีบล็อกเชนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น ความสำคัญของ Ethereum ในโลกการเงินก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น


Ethereum และ Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลทั้งคู่ แต่มีฟังก์ชันที่แตกต่างกันโดยพื้นฐาน นักลงทุนคริปโตที่ชาญฉลาดจะพิจารณาลงทุนใน ETH และ BTC ทั้งคู่ แต่ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายของ ETH สำหรับนักลงทุนที่มีเงินทุนไม่มาก ETH อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า
 ลงทุน Ethereum(ETH) ได้อย่างไร

เมื่อพูดถึงวิธีการลงทุน Ethereum(ETH) นักลงทุนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงการลงทุนแบบดั้งเดิม - การซื้อ Ethereum(ETH) อย่างเดียว ซึ่งหัวใจของวิธีนี้คือ 'ซื้อต่ำขายสูง' แต่ข้อเสียของการลงทุนในรูปแบบนี้คือ คุณสามารถทำกำไรได้ในกรณ์ที่ราคา Ethereum เพิ่มขึ้นอย่างเดียว หาก Ethereum อยู่ขาลง คุณจะขาดทุนทันทีหรือไม่ก็ต้องเก็บไว้รอการปรับตัวเพิ่มอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเวลาหลายเดือนแม้เป็นปีก็เป็นไปได้


สำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่จะเลือกรูปแบบการลงทุนที่ยืดหยุ่นกว่า เช่นเครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า CFD(Contract for Difference) หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง ด้วยการลงทุนผ่าน CFD นักลงทุนสามารถทำกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคา ETH โดยไม่ต้องซื้อ ETH จริงด้วยการส่งคำสั่งซื้อขาย


Ripple(​XRP)คืออะไร?

Ripple เป็นระบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์และเครือข่ายการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่สร้างขึ้นโดย Ripple Labs ซึ่งใช้สกุลเงินดิจิทัล XRP ในการประมวลผลธุรกรรม เมื่อพูดถึงการซื้อขาย Ripple จะหมายถึงการซื้อขาย XRP


Ripple แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการสร้างระบบเครือข่ายที่ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถค้นหาเส้นทางหรือตัวกลางที่สั้นที่สุดสำหรับการโอนเงินจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ทำให้การโอนเงินสะดวก รวดเร็ว ตรวจสอบได้และต้นทุนลดลง

       
ตัวอย่าง

- ธนาคาร A ในสหรัฐฯ ต้องการส่งเงินไปยังธนาคาร B ในไทย

       

- ธนาคาร A ซื้อ XRP ในตลาดแลกเปลี่ยนตามมูลค่าที่จะโอน


- ธนาคาร A ส่ง XRP ให้กับธนาคาร B ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาที


- ธนาคาร B แลก XRP กับตลาดแลกเปลี่ยนหรือขายให้กับกลุ่มผู้ทำตลาดที่ต้องการถือ XRP ต่อจากธนาคาร B

 XRP กับ Bitcoin ต่างกันอย่างไร


เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัลแล้ว คุณอาจจะเคยได้ยินชื่อ Bitcoin ผ่านตามสื่อต่าง ๆ เป็นบางครั้งและอาจจะคิดว่า XRP ก็น่าจะเหมือนกับ Bitcoin เพราะเป็นสกุลเงินดิจิทัลเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้ว XRP มีความแตกต่างจาก Bitcoin หลายประการดังนี้

เป้าหมายการพัฒนา

วัตถุประสงค์ของ Bitcoin คือเป็นสกุลเงินดิจิทัลสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการโดยไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของ Bitcoin คือ ผู้ใช้อย่างคุณกับผมที่จะมีอิสระในการจับจ่ายใช้สอยโดยไม่ผ่านตัวกลางและไม่ถูกแทรกแซงจากองค์กร หน่วยงานและรัฐบาลใด ๆ


ส่วน Ripple คือระบบการชำระเงิน แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและรับส่งเงินตราระหว่างประเทศรูปแบบใหม่สำหรับธนาคาร ซึ่งจะช่วยให้การโอนเงินสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีต้นทุนต่ำกว่ารูปแบบการโอนเงินที่ธนาคารใช้อยู่ในปัจจุบัน

การได้มาของเหรียญ XRP

ถึงแม้จะต้องใช้ทรัพยากรพอสมควรในการขุด Bitcoin แต่หากคุณต้องการ คุณก็สามารถทำการขุด Bitcoin ขึ้นมาโดยไม่มีใครสามารถห้ามคุณได้ ยกเว้น Bitcoin จะถูกขุดครบ 21 ล้านแล้วเท่านั้น


ส่วน XRP เป็นโทเค็นของ Ripple ที่ขุดไว้ล่วงหน้าแล้วจำนวนหนึ่งแสนล้านโทเค็น และคุณไม่สามารถทำการขุด XRP เองได้

 ซื้อขาย Ripple(​XRP) อย่างไร

สำหรับนักลงทุนรายย่อยการซื้อขาย Ripple(XRP) จะมีสองวิธี วิธีแรกจะเป็นการซื้อสกุลเงินจริงผ่านเว็บเทรดเช่น Binance เพื่อเป็นเจ้าของ XRP ด้วยความหวังว่าราคาจะสูงขึ้นแล้วขายออก เป็นรูปแบบการลงทุนระยะยาวเพราะอาจจะต้องถือ XRP เป็นเวลาหลายเดือนแม้เป็นหลายปีก้เป็นไปได้


อีกวิธีหนึ่งคือการเทรด Ripple(XRP) ผ่านสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคา Ripple(XRP) โดยไม่ต้องซื้อ Ripple(XRP) จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การประมวลแนวทางปฏิบัติ และกรอบมาตรฐาน มาตรฐานขั้นต่ำ และแบบตรวจประเมินแนวทางปฏิบัติด้าน Cyber Security ของหน่วยงาน CII

การประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) สำหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Cr...