เรื่องของ IP Address
เริ่มต้นจากที่อยู่ไอพีหรือ IP address ที่ทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาบนเครือข่าย IPv4 ต้องมีที่อยู่ไอพีของตนเองไม่ซ้ำกับคนอื่น เหมือนเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ไอพีแบบ IPv4 จะแบ่งเป็น 4 ส่วนที่เรียกว่า Octet แยกด้วยสัญลักษณ์จุด ตัวเลขในแต่ละอ๊อกเต็ดสามารถเป็นได้ตั้งแต่ 0 – 255 ตัวอย่างเช่น192.168.40.39
ซึ่งจะไม่มีอุปกรณ์สองตัวใดๆ ที่ใช้เลขไอพีซ้ำกันให้งงได้ นอกจากคุณใช้ฟีเจอร์แบ่งเครือข่ายแล้วแปลเลขไอพีไปมาข้ามกันอย่าง NAT ดังนั้น แน่นอนว่าการที่อุปกรณ์หนึ่งจะสื่อสารไปยังอีกอุปกรณ์ ก็ต้องรู้ที่อยู่หรือเลขไอพีก่อน
แต่เนื่องจากเรามีการแบ่งเครือข่ายเล็กใหญ่สารพัดแบบ การสื่อสารภายในเครือข่ายเดียวกันและแบบข้ามเครือข่ายก็มีกลไกต่างกัน ดังนั้นก็ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ระบุมากกว่าที่อยู่ไอพีบนแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้ทั้งสองอุปกรณ์รู้ว่าเราสองนั้นอยู่บนเครือข่ายเดียวกันหรือคนละเครือข่าย นั่นคือข้อมูลที่เรียกว่า ตัวกรองบอกชื่อซับเน็ต หรือ Subnet Mask
เรื่องของ Subnet Mask
ตามชื่อเลย ข้อมูลซับเน็ตมาส์กนี้ใช้ในการแบ่งเครือข่ายหรือซับเน็ต ประโยชน์ของการแบ่งขอบเขตเครือข่ายเป็นเน็ตย่อยๆ หลักๆ เลยก็เพื่อการจัดการที่สะดวกและเป็นระเบียบมากขึ้น นั่นคือ ซับเน็ตมาส์กยังใช้บอกขนาดของซับเน็ตนั้นๆ ได้ด้วย
แล้วซับเน็ตมาส์กจะทำให้อุปกรณ์ทราบว่าทั้งตัวเราและปลายทาอยู่ซับเน็ตเดียวกันหรือไม่ได้อย่างไรนั้น ก็ต้องเอามาส์กหรือตัวกรองไปกรองเลขที่อยู่ไอพี ซึ่งตัวเลขที่กรองออกมาก็คือ ชื่อของซับเน็ต หรือชื่อของเครือข่าย ถ้าทั้งต้นทางปลายทางมีชื่อเครือข่ายเหมือนกัน ก็แสดงว่าทั้งต้นทางและปลายทางอยู่ในเครือข่ายเดียวกันนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเลขไอพีต้นทางเป็น 192.168.40.15
เลขไอพีปลายทางคือ 192.168.40.39
แล้วซับเน็ตมาส์กของทั้งต้นทางปลายทางเหมือนกันคือ 255.255.255.0
ซึ่งชาวเน็ตเวิร์กมักจะเขียนสั้นๆ ว่า /24 เพราะทั้ง 24 บิตแรก (สามอ๊อกเต็ตแรก) มีค่าเป็น 1 ทั้งหมด (ถ้ายังสับสนอยู่ ลองไปฝึกแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบดูอีกครั้งนะครับ ว่า 11111111 ในฐาน 2 = 28 = 256 ในฐาน 10 แต่เลขเรานับตั้งแต่ 0 เป็นตัวแรก เลขฐานสิบสูงสุดในแต่ละอ๊อกเต็ตจึงเป็น 256 – 1 = 255 เป็นต้น)
นั่นหมายความ 24 บิตแรก (หรือสามอ๊อกเต็ตแรก) ของเลขไอพีที่มีซับเน็ตมาส์ก /24 กำกับอยู่ คือชื่อเครือข่ายนั่นเอง จากเลขไอพีและมาส์กข้างต้น ทั้งต้นทางและปลายทางจึงมีชื่อเครือข่ายเดียวกันคือ 192.168.40.0 หรือก็คือ ทั้งต้นทางและปลายทางอยู่บนเครือข่ายหรือซับเน็ตเดียวกัน
นอกจากนี้ มาส์ก /24 ยังบอกเราด้วยว่า ซับเน็ตนี้มีอุปกรณ์อยู่ในเครือข่ายได้ถึง 254 เครื่อง (หรือ 254 อินเทอร์เฟซที่เป็นระดับไอพี ที่มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนเป็นอุปกรณ์แต่ละชิ้นแยกต่างหากแม้อยู่บนอุปกรณ์เดียวกัน เช่น แต่ละอินเทอร์เฟซของสวิตช์เลเยอร์ 3 เอาจริงๆ เรานับเป็นแต่ละอินเทอร์เฟซมันจะอินและงงน้อยกว่าการดูเป็นอุปกรณ์นะครับ โดยเฉพาะเวลาเอามาใช้งานจริง) ที่ว่ามีได้ 254 ไอพี คือ มีได้ตั้งแต่ 192.168.40.1 – 192.168.40.254 เพราะ .0 คือชื่อเครือข่าย และ .255 คือที่อยู่พิเศษที่หมายถึงการส่งให้ทุกอินเทอร์เฟซในซับเน็ต /24 นั้น เอาไปใช้ตั้งเป็นที่อยู่ไอพีของอินเทอร์เฟซอื่นซ้ำไม่ได้นั่นเอง
เรื่องของ Broadcast
พอพูดถึงที่อยู่พิเศษที่ใช้บอกว่าให้ส่งข้อมูลไปยังทุกอุปกรณ์ในซับเน็ต เราเรียกที่อยู่ไอพีอันสุดท้ายของซับเน็ตที่เป็นที่อยู่พิเศษนี้ว่า Broadcast address หรือชื่อก็บอกว่าบรอดคาสต์ หรือถ่ายทอดข้อมูลกระจายไปทั่วมั่วเละเทะ (ชาวเน็ตเวิร์กจะรู้ว่าเกลียดทราฟิกสแปมถ่วงแบนด์วิธความเจริญแบบนี้มาก ถึงขนาดต้องแบ่งซับเน็ตย่อยๆ เล็กๆ เพื่อจำกัดบริเวณการบรอดคาสต์) มีที่อยู่ปลายทางแบบบรอดคาสต์โดยดีฟอลต์แบบไม่ต้องสนใจชื่อเครือข่ายด้วย คือ 255.255.255.255
เมื่อพูดถึงการแบ่งเครือข่ายหรือซับเน็ตแล้ว สิ่งสุดท้ายที่ต้องพูดก็คือ การทำให้อุปกรณ์สื่อสารข้ามเครือข่ายหรือไปยังคนละซับเน็ตได้ สมมติว่าอินเทอร์เฟซ 192.168.40.5 /24 จะส่งข้อมูลไปยัง 192.168.41.4 /24 มองเผินๆ ก็รู้แล้วว่าอยู่คนละหมู่บ้าน คนละซับเน็ต อินเตอร์เฟซต้นทางก็ต้องรู้ว่า เอ๊ะ ฉันจะโยนข้อมูลนี้ไปให้ใครที่สามารถโยนข้อมูลข้ามไปยังซับเน็ตที่ต้องการได้ หรือเป็นอินเทอร์เฟซของอุปกรณ์ที่รู้แผนที่ รู้เส้นทาง (เส้นทาง ภาษาอังกฤษเรียก Route การหาเส้นทางเรียกแบบนามเจอรันด์บอกการกระทำก็เติม ing ไปเป็น Routing และแน่นอนว่าอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เราท์ติ้งได้ก็ต้องเรียกว่า Router)
เรื่องของ Default Gateway
ซึ่งเราเรียกอุปกรณ์ที่เป็นดังประตูออกไปสู่โลกภายนอก ไปสู่เครือข่ายอื่นนี้ว่า “ประตู” เรียกตามที่ชาวบ้านเข้าใจก็คือ ดีฟอลต์ เกตเวย์ (Default Gateway) นั่นเอง
ซึ่งนั่นคือ อุปกรณ์หรืออินเทอร์เฟซไหนจะส่งข้อมูลข้ามไปยังโลกภายนอก เช่น อินเทอร์เน็ตได้ ก็ต้องมีข้อมูลว่า ที่อยู่ไอพีของเกตเวย์ตัวเองคืออะไร เช่น ถ้าเกตเวย์ของเครือข่าย 192.168.40.0 /24 คือ 192.168.40.1 (โดยมารยาท ชาวเน็ตเวิร์กมักจะตั้งไอพีแรกถัดจากชื่อเครือข่าย ยกให้เป็นที่อยู่เกตเวย์ แต่บางคนก็คิดว่าเพื่อความปลอดภัย ก็ควรสุ่มเลขอื่นไปตั้งแทน ก็ตามแต่ละท่านสะดวก) การที่ 192.168.40.5 /24 จะส่งหา 192.168.41.4 /24 ก็ต้องโยนข้อมูลไปให้เกตเวย์ที่ 192.168.40.1 ก่อนนั่นเอง
ความหมายของ เกตเวย์ Gateway
เกตเวย์ Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ เกตเวย์ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ เกตเวย์ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ เกตเวย์ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ เกตเวย์ gateway ยังรวมถึง router และ switch
ลักษณะการทำงานของเกตเวย์ Gateway
เกตเวย์ Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้
เกตเวย์ Gateway เป็นประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “บริดจ์” (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
เกตเวย์ Gateway จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้ และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัว เกตเวย์ (Gateway) จะสามารถสร้างตาราง ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ เกตเวย์ (Gateway) ตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้
เกตเวย์Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ เกตเวย์ (Gateway) และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ เกตเวย์ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ เกตเวย์ (Gateway) มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ เกตเวย์ (Gateway) ยังรวมถึง router และ switch
เกตเวย์(Gateway)เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของ เกตเวย์ (Gateway) คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือลักษณะของการเชื่อมต่อ ( Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง – รับ ข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง – รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือ LAN กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LAN กับ WAN โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น ๆ
เกตเวย์ (Gateway) เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทำให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ หากโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกัน เกตเวย์ ก็จะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ที่แต่ละเครือข่ายใช้งานอยู่นั้นได้ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์เกตเวย์จึงมีราคาแพงและขั้นตอนในการติดตั้งจะซับซ้อนที่สุดในบรรดาอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมด
ในการที่ เกตเวย์ (Gateway) จะสามารถส่งข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้องนั้น ตัวของ เกตเวย์ (Gateway) เองจะต้องสร้างตารางการส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า routing table ขึ้นมาในตัวของมัน ซึ่งตารางนี้จะบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่เครือข่ายใด และอยู่ภายใต้เกตเวย์อะไร ตารางนี้จะมีการปรับปรุงข้อมูลทุกระยะ สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์อาจจะรวมเอาฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย ซึ่ง Firewall เป็นเหมือนกำแพงที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายของบริษัท เข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในออกไปได้ (Cr:mahidol.ac.th,blogspot/เครือข่ายคอมพิวเตอร์)
ไม่ซ้ำกันที่ติดอยู่กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเน็ตเวริค์และเครือข่าย มักจะติดอยู่กับ Network Card LAN, Wireless Lan ของแต่ละการด์
ประโยช์น์ ของ Mac Adress คือ
1. log in โดยไม่ต้องใช้ Username กับ Password เวลาไปสถานที่อื่น เช่น ถ้าท่านต้องการเข้าอินเทอร์เน็ตในโรงแรม ทาง Admin จะขอรหัส Mac address เพื่อให้่ทานเชื่อมต่อ Internet อย่างง่ายดาย
2. ใช้สำหรับการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Internet , Wireless Network
3. สามารถตรวจสอบปัญหาการใช้งานของ Internet เพราะถ้าเกิดปัญหา ระบบจะบันทึกข้อมูล MAC address เหล่านั้นเข้าไปในตัวเครื่อง
เราสามารถเจอหมายเลข MAC address ที่ใช้ตรงกับที่เชื่อมต่อหรือไม่
4. สามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้ ว่าใครเชื่อมต่ออยู่ในระบบเครืองข่ายของเรา ถ้าเป็นบุคคลที่เราไม่ต้องการให้เชื่อมต่อ สามารถใส่รหัสป้องกันที่ระบบเครืองข่ายได้
MAC Address คือ Physical Address เป็นตัวเลขฐาน 16 จำนวน 12 ตัว เป็นตัวเลขเฉพาะของอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ Network ได้ เช่นโทรศัพท์ หรือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีตัวเลข MAC Address เฉพาะมาจากโรงงาน ที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุหมายเลขของเครื่องเรียกว่า MAC Address หรือพูดง่ายๆ มันก็คือตัวตนของมันเองที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะจะถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน เพื่ออนาคตมันถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ จะไม่ได้ซ้ำกับอุปกรณ์อื่น ลักษณะของ MAC Address เช่น fc:3d:93:40:64:cb
หากเปลี่ยนเทียบให้เห็นภาพ IP Address น่าจะหมายถึงหมายเลขโทรศัพท์ของเรา ที่เมื่อใครโทรมาก็จะเจอเรา แต่เราก็สามารถเปลี่ยนหมายโทรศัทพ์ได้บ่อยๆ คนที่ไม่มีเบอร์ใหม่เราก็ไม่สามารถติดต่อเราได้ ต่างจาก MAC Address ที่เปรียบเหมือนหมายเลขบัตรประชาชน ที่จะติดตัวเรามาตั้งแต่เราเกิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เอาเลขบัตรเราไปค้นในทะเบียนราษฎร์ก็จะรู้ว่าเราเป็นใคร
MAC Address มีไว้ทำไม และต่างจาก IP Address อย่างไร
MAC Address มีไว้ระบุตัวตนอุปกรณ์ ชี้ไปที่อุปกรณ์นั้นๆ ไม่ใช้หมายเลขไอพี เช่นการตั้งค่า MAC Filtering ในเร้าเตอร์ ที่เป็นการกำหนดว่าเครื่องไหนให้อนุญาตใช้เน็ตจากเร้าเตอร์ได้ เราจำเป็นต้องใส่ MAC Address เพราะไม่สามรถใส่เป็นไอพีได้ เพราะหากใส่ไปได้ ใครก็สามารถเปลี่ยนไอพีมาใช้ของเราได้อยู่ดี เจาะจงไปเลยว่าเครื่องนี้อนุญาตไม่อนุญาต
ดู MAC Address ได้อย่างไร
ปกติแล้วจะไม่มีหมายเลข MAC Address ติดมากับอุปกรณ์ ต้องดูผ่านระบบหรือเปิดใช้งานเพื่อดู อาทิเช่น มือถือ ก็ให้ดูในส่วนของ เกี่ยวกับโทรศัพท์จะมีข้อมูลของ MAC Address อยู่
หรือถ้าเป็นคอมพิวเตอร์หากใครใช้งาน Windows เราสามารถดูได้จาก Command Prompt กดแป้มพิมพ์ที่คีย์บอร์ด Windows + R พิมพืคำว่า cmd > enter จากนั้นให้พิมพ์ getmac /v แล้ว enter
สังเกตในส่วนของอุปกรณ์ Ethernet จะเป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบสายแลน แต่หากใครใช้ Wi-Fi จะมีหัวข้อ Wireless และให้ดูในส่วนของ Physical Address นั้นก็คือ MAC Address
MAC Address คืออะไร
MAC Address หรือ (Media Access Control Address) คือ หมายเลขรหัสที่มี ตัวเลขฐานสิบหกไม่ซ้ำกันที่ติดอยู่กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเน็ตเวริค์และเครือข่าย มักจะติดอยู่กับ Network Card LAN, Wireless Lan ของแต่ละการด์
ประโยช์น์ ของ Mac Adress คือ
1. log in โดยไม่ต้องใช้ Username กับ Password เวลาไปสถานที่อื่น เช่น ถ้าท่านต้องการเข้าอินเทอร์เน็ตในโรงแรม ทาง Admin จะขอรหัส Mac address เพื่อให้่ทานเชื่อมต่อ Internet อย่างง่ายดาย
2. ใช้สำหรับการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Internet , Wireless Network
3. สามารถตรวจสอบปัญหาการใช้งานของ Internet เพราะถ้าเกิดปัญหา ระบบจะบันทึกข้อมูล MAC address เหล่านั้นเข้าไปในตัวเครื่อง
เราสามารถเจอหมายเลข MAC address ที่ใช้ตรงกับที่เชื่อมต่อหรือไม่
4. สามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้ ว่าใครเชื่อมต่ออยู่ในระบบเครืองข่ายของเรา ถ้าเป็นบุคคลที่เราไม่ต้องการให้เชื่อมต่อ สามารถใส่รหัสป้องกันที่ระบบเครืองข่ายได้
MAC Address คือ Physical Address เป็นตัวเลขฐาน 16 จำนวน 12 ตัว เป็นตัวเลขเฉพาะของอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ Network ได้ เช่นโทรศัพท์ หรือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีตัวเลข MAC Address เฉพาะมาจากโรงงาน ที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุหมายเลขของเครื่องเรียกว่า MAC Address หรือพูดง่ายๆ มันก็คือตัวตนของมันเองที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะจะถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน เพื่ออนาคตมันถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ จะไม่ได้ซ้ำกับอุปกรณ์อื่น ลักษณะของ MAC Address เช่น fc:3d:93:40:64:cb
หากเปลี่ยนเทียบให้เห็นภาพ IP Address น่าจะหมายถึงหมายเลขโทรศัพท์ของเรา ที่เมื่อใครโทรมาก็จะเจอเรา แต่เราก็สามารถเปลี่ยนหมายโทรศัทพ์ได้บ่อยๆ คนที่ไม่มีเบอร์ใหม่เราก็ไม่สามารถติดต่อเราได้ ต่างจาก MAC Address ที่เปรียบเหมือนหมายเลขบัตรประชาชน ที่จะติดตัวเรามาตั้งแต่เราเกิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เอาเลขบัตรเราไปค้นในทะเบียนราษฎร์ก็จะรู้ว่าเราเป็นใคร
MAC Address มีไว้ทำไม และต่างจาก IP Address อย่างไร
MAC Address มีไว้ระบุตัวตนอุปกรณ์ ชี้ไปที่อุปกรณ์นั้นๆ ไม่ใช้หมายเลขไอพี เช่นการตั้งค่า MAC Filtering ในเร้าเตอร์ ที่เป็นการกำหนดว่าเครื่องไหนให้อนุญาตใช้เน็ตจากเร้าเตอร์ได้ เราจำเป็นต้องใส่ MAC Address เพราะไม่สามรถใส่เป็นไอพีได้ เพราะหากใส่ไปได้ ใครก็สามารถเปลี่ยนไอพีมาใช้ของเราได้อยู่ดี เจาะจงไปเลยว่าเครื่องนี้อนุญาตไม่อนุญาต
ดู MAC Address ได้อย่างไร
ปกติแล้วจะไม่มีหมายเลข MAC Address ติดมากับอุปกรณ์ ต้องดูผ่านระบบหรือเปิดใช้งานเพื่อดู อาทิเช่น มือถือ ก็ให้ดูในส่วนของ เกี่ยวกับโทรศัพท์จะมีข้อมูลของ MAC Address อยู่
หรือถ้าเป็นคอมพิวเตอร์หากใครใช้งาน Windows เราสามารถดูได้จาก Command Prompt กดแป้มพิมพ์ที่คีย์บอร์ด Windows + R พิมพืคำว่า cmd > enter จากนั้นให้พิมพ์ getmac /v แล้ว enter
สังเกตในส่วนของอุปกรณ์ Ethernet จะเป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบสายแลน แต่หากใครใช้ Wi-Fi จะมีหัวข้อ Wireless และให้ดูในส่วนของ Physical Address นั้นก็คือ MAC Address
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น